หน่วยการเรียนรู้
: ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ดอกไม้ที่เธอถือมา
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถตระหนักและบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ สามารถวิเคราะห์หน้าที่ของคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันในประโยคต่างๆและใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้มีนิสัยรัก การอ่าน มีมารยาทในการ ฟัง พูด
และเขียนที่ดี
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๘
๖ - ๑๐
ก.ค.
๒๕๕๘
|
โจทย์ :
- ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ดอกไม้ที่เธอถือมา
-
คำที่มีความหมายใกล้เคียง
Key Question
พ่อให้ความหมายของดอกไม้กับปืนอย่างไร ?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ดอกไม้ที่เธอถือมา
-
ใบงานที่เป็นข้อความภาษาพูด
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
|
พุธ
ชง
นักเรียนอ่าน เรื่องขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ดอกไม้ที่เธอถือมาโดยอ่านเสียง
(อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ :
สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ :
แต่งเรื่องใหม่ แต่งตอนจบใหม่
วาดภาพประกอบ ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนสรุปแผนภาพโครงเรื่อง
พฤหัสบดี
ชง
ครูให้นักเรียนหาคำที่มีความหมายที่ใกล้เคียงกันจากเรื่องขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ดอกไม้ที่เธอถือมา
เช่น คำว่า พูด - เอ่ย ฉีด – ขาด
เชื่อม
- ให้นักเรียนแต่ละคนหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันแล้วบันทึกลงในสมุดงาน
- วิเคราะห์ร่วมกัน
เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
-
ครูให้นักเรียนจับคู่ศึกษาเรื่องคำที่มีความหมายใกล้เคียง
-
นักเรียนแต่ละคู่ร่วมกันนำเสนอเรื่องที่ศึกษา
ใช้
- ครูให้นักเรียนเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการของตนเองอย่างน้อย
๑ หน้ากระดาษ A4
โดยใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียง
ศุกร์
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“ นักเรียนคิดว่าคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันนี้มีความสำคัญอย่างไร และนักเรียนจะนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจในเรื่องนี้ได้อย่างไร? ”
เชื่อม
- นักเรียนจับคู่วิเคราะห์รูปแบบที่จะนำเสนอความเข้าใจจากการศึกษาเรื่องคำที่มีความหมายใกล้เคียง
ใช้
-
นักเรียนแต่ละคู่ร่วมกันรวบรวมข้อมูลและจัดทำรูปแบบที่ต้องการนำเสนอความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆ
( การ์ตูนช่อง เพลง นิทาน กลอนฯลฯ )
|
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร
แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-
การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- สรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง
- การหาคำที่มีความหมายที่ใกล้เคียงกันจากเรื่องขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ดอกไม้ที่เธอถือมา
- สมุดบันทึกเรื่องคำที่มีความหมายที่ใกล้เคียง
- เขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการของตนเองอย่างน้อย ๑ หน้ากระดาษ A4 โดยใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียง
-
รูปแบบชิ้นงานที่ต้องการนำเสนอความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆ (
การ์ตูนช่อง เพลง นิทาน กลอนฯลฯ )
|
ความรู้ :สามารถวิเคราะห์ หน้าที่ของ
คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันในประโยคต่างๆและใช้คำและกลุ่มคำสร้าง ประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- การคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ข้อความและเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้
อธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของคำที่มีความหมายใกล้เคียงได้รวมทั้ง
อ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า
เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
-
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
สัปดาห์นี้เราอ่านวรรณกรรมเรื่องขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ดอกไม้ที่เธอถือมา ทุกคนต่างแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้อย่างหลากหลายและน่าสนใจมากค่ะ จากนั้นครูให้พี่ๆหาคำที่มีความหมายที่ใกล้เคียงกันจากเรื่องขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ดอกไม้ที่เธอถือมา และวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่ แล้วคุณครูก็แบ่งพี่ๆออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อศึกษาเกี่ยวกับคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน โดยให้กลุ่มหนึ่งศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และอีกกลุ่มศึกษาจากห้องสมุด เมื่อเวลาผ่านไป 20 นาที ปรากฎว่าพี่ๆทั้ง 2 กลุ่มกลับหาข้อมูลได้น้อยมาก เราจึงได้ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะอะไร ซึ่งส่วนใหญ่จะสะท้อนออกมาว่า คิดว่ามีเพื่อนหามาแน่นอน และจัดการเวลาไม่เป็น ดังนั้นคุณครูจึงลองให้เวลา 10 นาทีในการหาข้อมูลอีกครั้ง แต่เป็นงานเดี่ยว เมื่อครบกำหนด พี่ๆทุกคนมารวมกัน แต่ครั้งนี้ทุกคนสามารถอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่คุณครูให้ศึกษาได้ค่ะ จากนั้นคุณครูได้ให้พี่ๆสร้างชิ้นงานโดยการนำคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันนั้นมาทำในรูปแบบการ์ตูนช่อง บางคนก็สามารถนำคำที่มีความหมายใกล้เคียงมาปรับใช้คำได้ดีมาก แต่ก็ยังมีบางคนที่ยังใช้คำต่างๆนั้นสื่อความหมายยังไม่ถูกต้องเท่าไหร่ อีกทั้งเรื่องคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันนี้ยังมีคำไวพจน์รวมอยู่ด้วย เราจึงเรียนรู้เรื่องคำไวพจน์ไปด้วยกันเลยค่ะ โดยคุณครูให้โจทย์ว่าพี่ๆจะนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องคำไวพจน์ ได้อย่างไรให้น่าสนใจ ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบการอธิบายให้คนอื่นรู้ว่าคำไวพจน์เป็นอย่างไร หรือจะนำคำไวพจน์นั้นมาเรียบเรียงสร้างเรื่องราวต่างๆก็ได้ค่ะ และพี่ๆก็เลือกที่จะแต่งเพลง โดยแต่งเดี่ยวนะคะ และจะนำเสนอในสัปดาห์หน้าและคุณครูก็ตั้งใจว่าจะอัดเพลงของพี่ๆทุกคนที่แต่งและร้องเพลง แล้วตัดต่อในรูปแบบของ i-movi กันค่ะ รอติดตามผลงานของพี่ๆนะคะ
ตอบลบเพิ่มอีกนิดค่ะ นอกจากนั้นสัปดาห์นี้พี่ๆมัธยมทั้ง 3 ชั้นได้ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานบุคคลที่มีอาชีพทำงานเบื้องหลังรายการทีวี คือคุณต้นที่เป็น โปรดิวเซอร์ และคุณอเล็กซ์ที่เป็นผู้ช่วย ซึ่งเป็นการช่วยเปิดโลกทัศน์ของพี่ๆเกี่ยวกับอาชีพต่างๆในอนาคตและทัศนคติของบุคคลต่างๆ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นแรงบันดาลใจของตนเองได้ค่ะ
ตอบลบ