หน่วยการเรียนรู้
: จันทร์เสี้ยว
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถตระหนักและบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ สามารถอธิบายหลักการใช้
โวหารและภาพพจน์ ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรัก
การอ่าน มีมารยาทในการ ฟัง พูด และเขียนที่ดี
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๑๐
๒๐ - ๒๓
ก.ค.
๒๕๕๘
|
โจทย์ :
- กวีนิพนธ์เรื่องจันทร์เสี้ยว
- โวหารและภาพพจน์
Key Question
ผู้ใหญ่ตัวน้อย หมายความว่าอย่างไร ?
เครื่องมือคิด
Brainstorms : ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านและฟัง และการวิเคราะห์คำโวหารภาพพจน์ได้
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- กวีนิพนธ์เรื่องจันทร์เสี้ยว
- บทเพลง
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
|
พุธ
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “
นักเรียนคิดว่าคำว่า จันทร์เสี้ยว หมายความว่าอย่างไร?”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ชง
- ครูแจกกวีนิพนธ์เรื่องจันทร์เสี้ยวให้นักเรียนอ่านคนละตอน อย่างเช่น
ตอนบ้าน ชายฝั่ง ตื่นจากความหลับฯลฯ
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนอ่านและสรุปความเข้าใจในรูปแบบภาพวาดประกอบเรื่อง
พฤหัสบดี
เชื่อม
- ครูให้นักเรียนนำเสนอภาพวาดประกอบเรื่องจันทร์เสี้ยวในแต่ละตอน
-
ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
- ครูอธิบายว่าสิ่งที่นักเรียนอธิบายและเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนั้นคือภาพพจน์ที่มักใช้ในวรรณกรรมเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องชัดเจนยิ่งขึ้น
- นักเรียนศึกษาเรื่องภาพพจน์
( คำอุปมาอุปไมย อุปลักษณ์ สัญลักษณ์
นามนัย )แล้วเขียนสรุปในสมุดงาน
ศุกร์
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันนำเสนอข้อมูลที่ร่วมกันวิเคราะห์และศึกษาได้
ชง
- ครูแจกเนื้อเพลงและเปิดเพลงให้นักเรียนฟัง
จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนขีดเส้นใต้คำที่เป็นโวหารภาพพจน์
เชื่อม
- นักเรียนช่วยกันแต่ละคนช่วยกันนำเสนอคำโวหารภาพพจน์ที่ตนเองพบและขีดเส้นใต้ไว้
- วิเคราะห์ร่วมกัน
เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “
นักเรียนจะนำเรื่องโวหารภาพพจน์มาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองในรูปแบบใดได้บ้าง ”
ใช้
-
นักเรียนแต่ละคนออกแบบงานเขียนของตนเองโดยใช้คำโวหารภาพพจน์ตามที่ความสนใจของตนเอง
อย่างเช่น การแต่งกลอน บทกวี เพลงฯลฯ
|
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร
แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-
การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- สรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านในรูปแบบภาพวาดประกอบเรื่อง
- การเขียนบันทึกสรุปเรื่องที่ศึกษาเรื่องโวหารภาพพจน์
- การฟังเพลงและขีดเส้นใต้คำที่เป็นโวหารภาพพจน์
- การออกแบบงานเขียนของตนเองโดยใช้คำโวหารภาพพจน์ตามที่ความสนใจ
อย่างเช่น การแต่งกลอน บทกวี เพลงฯลฯ
-
|
ความรู้ :สามารถอธิบายหลักการใช้
โวหารและภาพพจน์ ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- การคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ข้อความและเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของการนำคำโวหารภาพพจน์มาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้รวมทั้ง
อ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า
เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
-
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
สัปดาห์นี้พี่ๆมัธยมทั้งหมดจึงได้ช่วยกันถอนกล้ากันทั้งวัน(วันพุธ) เพื่อเตรียมกล้าไว้ปักดำในวันศุกร์ที่จะมีการลงแขกดำนาร่วมกันทั้งโรงเรียนเลยค่ะ ส่นววันพฤหัสบดีพี่ๆม.1 ก็ร่วมกันทำใบงานที่แต่ละกลุ่มออกแบบร่วมกันเกี่ยวกับคำพ้องรูปและคำพ้องเสียง และเมื่อมาถึงวันศุกร์ เราก็ร่วมกันดำนาค่ะ สนุกมาก เเดดก็ไม่ร้อนและที่สำคัญดีใจจังที่ปีนี้ชุมชนลำปลายมาศพัฒนาของเราต่างพร้อมพรักในการดำนาครั้งนี้ ทำให้งานเราเสร็จเร็วมาก ประทับใจภาพที่เห็นที่ทุกคนต่างร่วมมือกัน เป็นชุมชนที่เข้มแข็งค่ะ นอกจากนี้ช่วงบ่ายพี่ๆยังมีกิจกรรมร่วมกันคือ Design Thinking Workshop ค่ะ พี่ๆตั้งใจร่วมทำกิจกรรมดีมาก ส่วนกิจกรรมเน้นด้านการคิดเร็ว ความกล้าแสดงออก และความสนุกสนาน ซึ่งคุณครูรู้สึกประทับใจและขอบคุณพี่ๆมัธยมที่มีความตั้งใจในการร่วมทำกิจกรรมต่างๆในสัปดาห์นี้มากๆเลยค่ะ
ตอบลบ