หน่วยการเรียนรู้
: ขุนนางป่า
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล
อ่านจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ รวมทั้งสามารถอธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทยและ มีนิสัยรัก
การอ่าน มีมารยาทในการ ฟัง พูด และเขียนที่ดี
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๑
๑๔ - ๒๑
พ.ค.
๒๕๕๘
|
โจทย์ :
-
ขุนนางป่า ตอน
เพลงปืนป่าบนดอย นานและนานมาแล้ว ก่อนถึงวันนี้
-
คาดเดาเรื่อง
- ลักษณะของเสียงในภาษาไทย
Key Question
ทำไมจึงต้องมีการยิงปืนบนดอย?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- วรรณกรรมเรื่อง ขุนนางป่า ตอนเพลงปืนป่าบนดอย นานและนานมาแล้ว ก่อนถึงวันนี้ |
พุธ
เชื่อม
- ครูแนะนำหนังสือที่จะใช้ในสัปดาห์นี้
- นักเรียนเขียนคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือและการวาดภาพประกอบ
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอ
พฤหัสบดี
ชง
นักเรียนอ่าน เรื่องขุนนางป่า ตอน
เพลงปืนป่าบนดอย นานและนานมาแล้ว ก่อนถึงวันนี้โดยอ่านเสียง
(อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ :
สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่ แต่งตอนจบใหม่
วาดภาพประกอบ ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
ศุกร์
ชง
นักเรียนแต่ละคนหาคำศัพท์และศึกษาความหมายของคำที่ตนเองสนใจคนละ
๑๐ คำ จากเรื่องขุนนางป่า ตอน
เพลงปืนป่าบนดอย นานและนามาแล้ว ก่อนถึงวันนี้ รวมทั้งวิเคราะห์ลักษณะของเสียงจากคำศัพท์ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนหาคำศัพท์ที่ตนเองสนใจรวมทั้งวิเคราะห์ลักษณะของเสียงที่อ่านคำศัพท์และบันทึกลงในสมุด
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอเรื่องทีศึกษา
- วิเคราะห์ร่วมกัน
เพื่อตรวจสอบว่าใช้คำศัพท์ได้ถูกต้องกับความหมายของงานเขียนหรือไม่
ใช้
- นักเรียนจับคู่ศึกษาเรื่องเสียงในภาษาไทย
และนำเสนอความเข้าใจในรูปแบบการ์ตูนช่อง
|
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร
- การแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-
การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
- สมุดบันทึกคำศัพท์และลักษณะของเสียงในภาษาไทย
- การ์ตูนช่องสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเสียงในภาษาไทย
|
ความรู้ :สามารถอธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทยได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
รวมทั้งคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของคำต่างๆและลักษณะของเสียงในภาษาไทย รวมทั้งอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า
เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการเรียนรู้
- การจัดการและวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
สัปดาห์นี้คุณครูแนะนำหนังสือวรรณกรรมเรื่องขุนนางป่า แต่ก่อนอื่นคุณครูให้พี่ๆเขียนบอกความหมายของคำว่าป่าก่อน ว่าหมายถึงอะไร และคำว่าขุนนางนั้นหมายถึงอะไร
ตอบลบพี่มายด์ : ป่า หมายถึง ต้นไม้ที่ทำให้โลกของเราน่าอยู่ เป็นร่มเงาให้เรา และสัว์ป่าที่อาศัยอยู่ในป่า
ขุนนาง หมายถึง คนใหญ่คนโตที่อยู่ในวัง รับใช้คนที่มีอำนาจมากกว่า
พี่คอบ : ป่า หมายถึง ต้นไม้รกๆ
ขุนนาง หมายถึง คนที่มีอำนาจ
พี่นัท : ป่า หมายถึง ธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ป่า
ขุนนาง หมายถึง คนที่ทำงานในวัง
พี่เพลง : ป่า หมายถึง ต้นไม้ที่มีจำนวนเยอะๆ มีสัตว์อาศัยอยู่มากมาย มีความอุดมสมบูรณ์สีเขียว
ขุนนาง หมายถึง คนใหญ่คนโตที่ทำงานอยู่ในพระราชวัง
จากนั้นคุณครูก็ถามต่อว่า แล้วคำว่าขุนนางป่า พี่ๆคิดว่าหมายความว่าอย่างไร
พี่กระต่าย : คนที่อาศัยอยู่ในป่า เป็นอันธพาลป่าเถื่อน ไม่มีที่อยู่อาศัย
พี่อังอัง : ขุนนางที่ทำงานอยู่ในป่า
พี่ไอดิน : ขุนนางที่มีความรู้เรื่องธรรมชาติ พืชไม้สัตว์ป่ามากมาย บางทีได้ทำงานในป่าไม้บ้าง
ฯลฯ
จากนั้นคุณครูก็ได้ให้พี่ๆเขียนคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือเรื่องขุนนางป่าและร่วมแลกเปลี่ยนนำเสนองานเขียนของตนเอง และได้ให้พี่ๆลองเขียนคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่อยู่ในบ้านม.1 และให้แต่ละคนจัดหมวดหมู่รวมทั้งวิเคราะห์ลักษณะของเสียงที่อ่านคำศัพท์และบันทึกลงในสมุด รวมทั้งให้พี่ๆม.1จับคู่ศึกษาเรื่องเสียงในภาษาไทยและนำเสนอความเข้าใจในรูปแบบต่างๆตามความสนใจค่ะ