เป้าหมาย

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

week3


หน่วยการเรียนรู้ : ขุนนางป่า
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล อ่านจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ขอคำนาม คำสรรพนามคำกริยา รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์ได้ มีนิสัยรัก การอ่าน มีมารยาทในการ ฟัง พูด และเขียนที่ดี


Week

Input

Process

Output

Outcome

๑  -
มิ..
๒๕๕๘

โจทย์ :โจทย์ :
- ขุนนางป่า  ตอน ปฏิทินใบไม้ ๑-
ชนิดและหน้าที่ของคำ
- คำนาม
- คำสรรพนาม
- คำกริยา


Key  Question
ทำไมคนเราจึงมองกันแค่เปลือก ?

เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

 สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ขุนนางป่า  ตอน ปฏิทินใบไม้ ๑-
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- ใบงาน
พุธ
ชง
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น ๓ กลุ่ม อ่าน เรื่องขุนนางป่า  ตอน ปฏิทินใบไม้ ๑ -๓อ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
 ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
 สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความเข้าใจในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง
พฤหัสบดี
ชง
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนตามเรื่อง ขุนนางป่าตอน ปฏิทินใบไม้ ๑ - แล้วให้แต่ละกลุ่มช่วยระบุด้วยว่าใดที่เป็นคำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอ
- วิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
ชง
- ครูแจกบัตรคำนาม คำสรรพนาม คำกริยาต่างๆให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนจะสามารถจัดหมวดหมู่คำนามที่ครูกำหนดให้ต่อไปนี้ได้อย่างไร?” อย่างเช่น
คำนามสามัญ(คน  แมว   ปู  เสือ  ปลา  หอย  เป็ด  ไก่  นก )
คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ
(พิษณุโลก  พรหมพิรามวิทยา  ไอ้ตูบ  เจ้าด่าง   พิชัย   นายสิทธิศักดิ์) 
คำนามรวมหมู่
(กอง  กลุ่ม  หมู่  ฝูง  โขลง  พวก  พรรค  วง )
คำลักษณะนาม
( เกวียน เล่ม โขลง กอง วง หลัง แผ่น บาง )
ฯลฯ
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอการจัดหมวดหมู่บัตรคำ
-  วิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าจัดหมวดหมู่ได้ถูกต้องกับหรือไม่
- ครูให้นักเรียนทั้ง ๓กลุ่ม แบ่งเรื่องศึกษาเรื่องคำนาม  คำสรรพนาม  คำกริยา แบบละเอียด
- นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอในรูปเล่มรายงาน
ศุกร์
ใช้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปเรื่องคำนาม คำสรรพนาม
และคำกริยาในรูปแบบของนิทาน
  - นักเรียนทำใบงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- สรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง
- การจัดหมวดหมู่บัตรคำและศึกษาข้อมูลเรื่องคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
- สมุดบันทึกเรื่องคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
- นิทานสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
  - ใบงาน
ความรู้ :สามารถวิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ขอคำนาม คำสรรพนามคำกริยา รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- การคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่บัตรคำและเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
 ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น











1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ม.1 แต่ละคู่ได้นำชนิดของคำที่ตนเองศึกษามากพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเข้าใจซึ่งกันและกัน แล้วให้นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่ฟังในรูปแบบของ Mind Mapping และเพื่ออยากรู้ว่าพี่ๆม.1 สามารถนำคำต่างๆมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนได้อย่าไรบ้าง ดังนั้นคุณครูจึงให้พี่ๆแต่ละคนเขียนความเรียงเกี่ยวกับตนเองในหัวข้อ ครุ่นคำนึ่ง สัปดาห์ที่ 3 กับหนึ่งอนันตกาล แต่เมื่อได้มาอ่านงานของพี่ๆแล้ว ส่วนใหญ่งานเขียนของๆจะเป็นภาษาพูดและการใช้คำที่มีหมายลึกซึ้งก็น้อยมาก คุณครูจึงขอเลือกคำจากเรื่องราวที่นักเรียนแต่ละคนเขียนนั้นและคิดว่ามีความหมายและยังแสดงถึงความคิด ความรู้สึกของแต่ละคน จำนวนคนละ ๒ คำ และให้แต่ละคนเขียนความรู้สึกถึงคำที่ได้รับนั้นว่าเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับตนเองอย่างไรค่ะ ซึ่งงานเขียนครั้งที่สองนี้พี่ๆจะเขียนเรื่องราวได้สั้นกว่าครั้งแรก แต่ข้อความและความรู้สึกนั้นกลับมีมากกว่า ซึ่งพี่ๆม.1 แต่ละคนก็ได้อ่านแลกเปลี่ยนความรู้สึกให้เพื่อนๆฟัง ทุกคนก็จะบอกว่าเพื่อนๆเขียนได้ดีมากค่ะ อย่างเช่น
    โจเซฟ : (ดนตรี เข้าใจ ) ผมไม่อยากเล่นดนตรีเพราะคิดว่ามันยาก แต่ใจจริงผมอยากเล่น เพราะเห็นว่ามันเท่ ก็เลยลองดู ปรากฏว่ามันง่ายและก็เริ่มเข้าใจตนเองว่าดนตรีมีไว้เพื่ออะไร
    คอป: (ปรับตัว เคารพ) เราควรปรับตัวเพื่ออยู่ที่นี่ และเราต้องรู้จักเคารพสิทธิ์คนอื่น
    ไอดิน: (โอกาส ประสบการณ์) หนูมีโอกาสได้เรียนรู้และสามารถทำอะไรได้หลายๆอย่าง ถ้าเรามีประสบการณ์ที่ดีก็จะเกิดความทรงจำที่ดี
    นัท:(บทบาท เพื่อน) เราต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ต้องรู้จักวางแผนชีวิตของตนเอง ผมรู้สึกดีที่มีเพื่อน เพื่อนทำให้เรามีความสุข ถึงบางครั้งเพื่อนจะทำให้เราต้องเสียใจ แต่ยังไงคำว่าเพื่อนก็ยังมี ฯลฯ

    ตอบลบ