หน่วยการเรียนรู้
: ขุนนางป่า
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล
อ่านจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ รวมทั้งสามารถอธิบายหลักการสร้างคำในภาษาไทยและคำต่างๆ(คำมูล คำสมาส คำสนธิ คำประสม คำแผลง คำซ้ำ คำซ้อน
)มาปรับใช้ได้ มีนิสัยรัก การอ่าน
มีมารยาทในการ ฟัง พูด และเขียนที่ดี
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๒
๒๕ - ๒๘
พ.ค.
๒๕๕๘
|
โจทย์ :
-
ขุนนางป่าตอน ตอนจดหมายเปิดผนึกจากสวนทูนอิน
-
หลักการสร้างคำ
คำมูล คำสมาส คำสนธิ คำประสม คำแผลง
คำซ้ำ คำซ้อน
Key Question
เต่าเนื้อไม่คาวแต่หวานเพราะกินเห็ดหมายความว่าอย่างไร ?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่านและศึกษา
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ขุนนางป่าตอน ตอนจดหมายเปิดผนึกจากสวนทูนอิน
- ใบงานเรื่องคำแผลง
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
|
พุธ
เชื่อม
ทบทวนเรื่องขุนนางป่าตอนที่อ่านผ่านมาโดยเล่าเรื่องย้อนกลับ
ชง
นักเรียนอ่าน เรื่องขุนนางป่าตอน
ตอนจดหมายเปิดผนึกจากสวนทูนอิน
โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ :
สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ :
แต่งเรื่องใหม่ แต่งตอนจบใหม่
วาดภาพประกอบ ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนวาดภาพประกอบเรื่องที่อ่าน
พฤหัสบดี
ชง
ให้นักเรียนเขียนคำศัพท์ตามคำบอกจากเรื่องที่อ่านจำนวน
20 คำ แล้วให้แต่ละคนเขียนระบุด้วยว่าคำใดที่เป็นคำมูล คำสมาส คำสนธิ คำซ้ำคำซ้อน และคำประสม
เชื่อม
-
นักเรียนแต่ละคนนำเสนอ
-
วิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
- นักเรียนแต่ละคนศึกษาเรื่องคำมูล คำสมาส คำสนธิคำซ้ำคำซ้อน และคำประสม
แล้วสรุปลงในสมุดบันทึก
ใช้
นักเรียนทำใบงาน
ศุกร์
ชง
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาเรื่องคำแผลง ซึ่งจะแบ่งเป็น
๑. การแผลงสระ
๒. การแผลงพยัญชนะ ๓. การแผลงวรรณยุกต์
เชื่อม
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสรุปความเข้าใจเรื่องที่ศึกษาและนำเสนอให้เพื่อนๆกลุ่มอื่นเข้าใจในรูปแบบต่างๆที่สนใจ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนนำเสนอเรื่องที่ศึกษา
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องคำแผลงอีกครั้ง
- นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเรื่องคำแผลงในรูปแบบ Mind
mapping
ใช้
นักเรียนเลือกคำแผลงโดยแบ่งเป็นการแผลงสระ
การแผลงพยัญชนะ การแผลงวรรณยุกต์ อย่างละ ๕ คำและนำมาแต่งประโยคให้เป็นเรื่องราวเดียวกันและวาดภาพประกอบให้สวยงามลงในสมุด |
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร
- การแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-
การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การวาดภาพประกอบเรื่อง
- สมุดบันทึกเรื่องหลักการสร้างคำต่างๆ
- ใบงานคำมูล คำสมาส คำสนธิ คำซ้ำคำซ้อน และคำประสม
- ใบความรู้เรื่องคำแผลง
- Mind mapping สรุปเรื่องคำแผลง
- การแต่งประโยคจากคำแผลงต่างๆ
|
ความรู้ :สามารถสร้างคำในภาษาไทยและอธิบายเกี่ยวกับหลักการสร้างคำในภาษาไทยและคำต่างๆ(คำมูล คำสมาส
คำสนธิ คำประสม คำแผลง คำซ้ำ คำซ้อน )มาปรับใช้ได้ รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับหลักการสร้างคำต่างๆ และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า
เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
-
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
สัปดาห์นี้พี่ม.1 คุณครูได้ให้อ่านเรื่องขุนนางป่าตอน นานและนามาแล้ว รวมทั้งแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเองที่อ่านเพื่อสร้างความเข้าใจอีกครั้ง จากนั้นคุณครูได้ให้พี่ๆเขียนคำศัพท์ตามคำบอก และเล่นบิงโกคำศัพท์กันค่ะ อีกทั้งเพื่อให้พี่ๆเข้าใจความหมายของคำศัพท์และสามารถนำคำนั้นมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ คุณครูได้แบ่งกลุ่มพี่ๆออกเป็น 2 กลุ่ม โดยให้แต่ละลุ่มเลือกคำศัพท์กลุ่มละ 5 คำมาแต่งเป็นเรื่องราวต่างๆและนำเสนอในรูปแบบการแสดง จากนั้นคุณครูก็ได้แบ่งกลุ่มใหม่อีกครอบ และกำหนดให้แต่ละกลุ่มเลือกคำศัพท์กลุ่มละ 5 คำมาแต่งเป็นบทเพลงพร้อมกับนำเสนอในรูปแบบเต้นประกอบเพลงค่ะ พี่ๆมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมมาก ทำงานเร็ว มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานและที่สำคัญพี่ๆได้แสดงให้ครูเห็นถึงศักยภาพของตนเองภายใต้เงื่อนไขที่ครูจำกัดให้ได้ คุณครูก็ รู้สึกสนุกไปกับพวกพี่ๆม.1 ด้วยเหมือนกันค่ะ
ตอบลบ