เป้าหมาย

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

week6


หน่วยการเรียนรู้ : ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ในกระแสธารแห่งกาลเวลา
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล อ่านจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
           รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของประโยคความซ้อน รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์ได้มีนิสัยรัก การอ่าน มีมารยาทในการ ฟัง พูด และเขียนที่ดี


Week

Input

Process

Output

Outcome

๒๒ -  ๒๖
มิ..
๒๕๕๗
โจทย์ :
- ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ในกระแสธารแห่งกาลเวลา
- ประโยคความซ้อน

Key  Question
ทำไมผู้เขียนจึงมีพฤติกรรมเหมือนกับครูของเขาเองทั้งๆที่เขาก็ไม่ชอบพฤติกรรมนั้นเลย ?

เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
 สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ในกระแสธารแห่งกาลเวลา
- ตัวอย่างประโยคความเดียว ความรวม ความซ้อน
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
พุธ
ชง
นักเรียนอ่าน เรื่องขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ตอน ในกระแสธารแห่งกาลเวลา โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
 ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
 สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนการ์ตูนช่อง
พฤหัสบดี
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าประโยคความเดียว ประโยคความรวมนั้นแตกต่างกันอย่าง ?
 เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ชง
ครูแจกประโยคขอความต่างๆให้นักเรียนแต่ละคน และให้นักเรียนแต่ละคนที่ได้รับประโยคข้อความนั้นจัดกลุ่มประโยคที่เหมือนกัน
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ประโยคข้อความที่ตนเองจัดกลุ่มไว้ ว่าเป็นอย่างไร
- แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาเรื่องชนิดของประโยค
(ประโยคความเดียว  ประโยคความรวมและประโยคความซ้อน)
ศุกร์
ชง
ครูใช้คำถาม “ ประโยคความซ้อนเป็นอย่างไรและนักเรียนจะสามารถนำเสนอเรื่องที่ศึกษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่าง ? ”
เชื่อม
- นักเรียนจับคู่ศึกษาเรื่องประโยคความซ้อนและคิดรูปแบบการนำเสนอเรื่องที่ศึกษาให้ผู้อื่นเข้าใจ
 ( เพลง เกม ชาร์ตความรู้ ฯลฯ)
 - นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆ ( เพลง เกม ชาร์ตความรู้ ฯลฯ)
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนองานของแต่ละคู่
ใช้
นักเรียนทำใบงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- สรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- สมุดบันทึกเรื่องประโยคความซ้อน
-  การนำเสนอข้อมูลที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆ( เพลง เกม ชาร์ตความรู้ ฯลฯ)
- ใบงาน
ความรู้ :สามารถวิเคราะห์ประโยคความซ้อน รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- การคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ข้อความและเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของประโยคความซ้อน รวมทั้ง
อ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
 ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น




1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ครูทบทวนเรื่องความเข้าใจเรื่องประโยคความเดียวและประโยคความรวม โดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าประโยคความเดียว ประโยคความรวมนั้นแตกต่างกันอย่าง ? ”พี่ๆก็ร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกัน จากนั้น
    ครูแจกประโยคขอความต่างๆให้พี่ๆแต่ละคน และให้แต่ละคนที่ได้รับประโยคข้อความนั้นจัดกลุ่มประโยคที่เหมือนกัน พร้อมกับร่วมกันแสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ประโยคข้อความที่ตนเองจัดกลุ่มไว้ ว่าเป็นอย่างไร แล้วก็แบ่งกลุ่มให้ไปศึกษาเรื่องชนิดของประโยคความซ้อน เพื่อให้พี่ๆมีความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษามากขึ้นจะต้องนำเสนอเรื่องที่ศึกษาและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ดังนั้นคุณครูจึงให้พี่ๆจับบคู่ศึกษาเรื่องประโยคความซ้อนและคิดรูปแบบการนำเสนอเรื่องที่ศึกษาให้ผู้อื่นเข้าใจในรูปแบบต่างๆ อย่างเช่น เพลง เกม ชาร์ตความรู้ ฯลฯ พี่ๆแต่ละคนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมดีมากค่ะ

    ตอบลบ